หาจังหวะลงทุนบนดัชนี S&P500 ด้วย Sentiment Indicators

TongTanapat
5 min readMay 5, 2021

--

PIXABAY.COM

นอกจาก Indicator ประเภท Lagging ที่เรารู้จักกันดีแล้วอย่างประเภท Overlap Indicator ประเภทใช้ดูคู่กับกราฟราคาได้เช่น SMA, EMA, Ichimoku, Bollinger, etc. หรือ Indicator ประเภทที่บอก Momentum หรือแนวโน้มของราคาอย่าง MACD, RSI, ADX

ในตลาดต่างประเทศได้มีการสร้างเครื่องมือที่ใช้ถึงอารมณ์ของผู้คนในตลาดออกมาให้ดูเป็นเครื่องมือประกอบได้อีกด้วย หากพูดชื่อไปแล้วทุกคนน่าจะเคยคุ้นหูกันมาบ้าง VIX Index, Fear & Greed Index และ Put Call Ratio ซึ่งแต่ละตัวก็ถูกนำมาใช้แสดงผลต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือเป็น Indicator ที่ใช้บอกอารมณ์ของนักลงทุนในตลาด ณ ขณะนั้น ว่าผู้คนกลัวหรือกำลังโลภ นักลงทุนกำลังอยู่โหมด Risk on/Risk off หรือแม้กระทั่งยอด Put/Call สินค้าประเภท Option ในตลาดที่บ่งบอกถึงผู้คนกำลังลงทุนหรือพร้อมที่จะ Bet กับเหตุการณ์ที่เริ่มไม่ปกติ ดังในบทความนี้ ที่ผมจะพาไปทดสอบกับดัชนี S&P500 เพื่อทดสอบว่า Sentiment Indicators ทั้ง 3 ตัวนั้น หากนำมาใช้ในการเข้าซื้อขาย จะหาค่าในการนำมาใช้อย่างไร และเมื่อใช้แล้ว ทั้ง 3 ตัวที่กล่าวมาตัวไหนจะให้ผลลัพธ์ดีที่สุด เรามาชมไปพร้อม ๆ กันครับ

Put/Call Ratio

Put/Call Ratio เป็นอัตราส่วนที่คำนวณได้จากปริมาณการซื้อขาย Volume ของ Put options/Call options (มีการนำสถานะคงค้างทั้งสองฝั่ง หรือ OI มาคำนวณด้วยในบางครั้ง) ซึ่งจะได้อัตราส่วนที่สะท้อนถึงมุมมองของนักลงทุนที่มีส่วนร่วมอยู่ในตลาดในตอนนั้น และยังสามารถพอที่จะใช้ดูการกลับตัวของตลาดในช่วงที่ผู้คนกำลังไล่ซื้อกันเรื่อย ๆ หรือกำลัง Panic เทขายกันอย่างต่อเนื่องได้เช่นกัน วิธีการที่นำไปใช้มักใช้ดูเมื่อ Put/Call Ratio มีค่ามากกว่า 1 จะสะท้อนภาพการปรับตัวลงของดัชนี ในทางกลับกัน เมื่อ Ratio มีค่าต่ำกว่า 1 จะสะท้อนภาพการฟื้นตัวของตลาดนั่นเอง โดยที่ทาง Investopedia ได้ให้ Key takeaways ไว้ว่า

KEY TAKEAWAYS

  • One of the most reliable indicators of future market direction is a contrarian-sentiment measure known as the put/call options volume ratio.
  • On balance, option buyers lose about 90% of the time.
  • As often happens when the market gets too bullish or too bearish, conditions become ripe for a reversal.

VIX Index

ดัชนีความผันผวนหรือ Chicago Board Options Exchange : Volatility Index (VIX) เป็นดัชนีที่ถูกเรียกกันบ่อย ๆ ว่าดัชนีความกลัว โดยเป็นดัชนีที่ใช้ Option ในตลาด S&P 500 มาคำนวณ ดังนั้นหากดัชนี VIX พุ่งสูงขึ้น จึงหมายความว่าอาจเป็นจุดที่ควรระวังว่าตลาดอาจมีการปรับตัวลง เนื่องจากมีการใช้ Put option ในปริมาณที่สูง และโดยปกติแล้วอายุของ Option ที่นิยมจะมีอายุประมาณ 30 วัน ดังนั้นหากช่วงเวลาดังกล่าวมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นก็อาจจะนำมาใช้แสดงถึงความคาดหวังของนักลงทุนในอนาคตอันใกล้ ถึงความไม่มั่นใจต่อตลาดที่เป็นอยู่ได้เช่นกัน

KEY TAKEAWAYS

  • The Cboe Volatility Index, or VIX, is a real-time market index representing the market’s expectations for volatility over the coming 30 days.
  • Investors use the VIX to measure the level of risk, fear, or stress in the market when making investment decisions.
  • Traders can also trade the VIX using a variety of options and exchange-traded products, or use VIX values to price derivatives.

Fear & Greed Index

สำหรับ Fear and Greed เป็นเครื่องมือที่ทาง CNN นำมาใช้แสดงถึงความกลัวและโลภของผู้คนในตลาดซึ่งมีการคำนวณผ่าน Indicator ทั้งหมด 7 ตัวด้วยกัน หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นตากับภาพนี้อยู่บ้าง

money.cnn.com

จากภาพจะแสดงค่าของแต่ละช่วงของอัตราความกลัวและโลภผ่านทางรูปแบบเข็มไมล์ โดยเริ่มจากค่าศูนย์ทางฝั่งซ้ายสุด และค่าสูงสุดที่ 100 ทางขวา เมื่อมาทางขวาที่ค่าใกล้ 100 สามารถตีความได้ว่าผู้คนในตลาดตอนนี้กำลังสนุกสนานกับตลาดยกใหญ่ ราวกับงานเลี้ยงที่กำลังเล่นเพลงที่ชวนทุกคนโยกตามกันได้ทั้งงาน แต่กลับกันเมื่อเข้าใกล้ค่าศูนย์ นั่นก็หมายความว่าผู้คนในตลาดตอนนั้นไม่กล้าแม้แต่จะเปิดแอพพลิเคชั่นการลงทุนดูด้วยซ้ำ และ Ratio ประกอบด้วยอะไรบ้าง ทาง CNN ก็ได้อธิบายไว้ดังนี้

money.cnn.com

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีการแบ่งประเภทของ Fear Indicator และ Greed Indicator ไว้ และรวมถึง Put/Call Ratio ที่กล่าวไปในเบื้องต้นอีกด้วย

KEY TAKEAWAYS

  • The fear and greed index was developed by CNNMoney to measure two of the primary emotions that influence investors.
  • It is based on the premise that excessive fear can result in stocks trading well below their intrinsic values.
  • The index also suggests that greed can cause stock values to rise far above what they should be worth.
  • CNN examines seven different factors of fear and greed and scores investor sentiment on a scale from 0 to 100.
  • The website Alternative.me offers a crypto fear and greed index for cryptocurrency markets.

แล้วถ้าหากเรานำ Indicator เหล่านี้มาใช้ในการเป็นสัญญาณเทรดจะเป็นอย่างไร?

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักและเห็นหน้าตาของ Indicator ประเภทต่าง ๆ กันแบบคร่าว ๆ แล้วผมจะลองนำ Indicator ทั้ง 3 ตัวมาสร้างสัญญาณเทรดแยกกัน โดยแบ่งกันเป็นกลยุทธ์แต่ละประเภท และใช้ค่าของตัว Indicator แต่ละตัว ในการสร้างสัญญาณซื้อขาย และเพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการทดสอบ ผมได้ใช้ Library backtrader เป็นตัว Backtest สัญญาณทั้งหมด โดยภาพของ Indicator ที่ได้แต่ละตัวจะเป็นดังนี้

ภาพบน put/call, กลาง Fear&Greed, ล่าง VIX Index

จากภาพเราจะเห็นว่าถึงแม้จะเป็น Sentiment Indicator เหมือนกัน แต่ค่าที่แสดงออกมาจากช่วงเวลาตั้งแต่ Jan 2011 ถึง Sep 2020 กลับไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกันสักเท่าไหร่

เมื่อมาลองเทียบดูความสัมพันธ์แบบ Pearson Correlation ก็พบว่าบนช่วงเวลาดังกล่าว ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันเท่าไหร่นัก

*Close = VIX close price

จากนั้นเริ่มมาดูข้อมูลทางสถิติแบบคร่าว ๆ ของแต่ละตัวกันก่อน

Put/Call Ratio

Put/Call Ratio Stats

VIX Index

VIX Index Stats

Fear and Greed Index

Fear and Greed Index Stats

จากค่าทางสถิติเบื้องต้นของข้อมูล Indicators ทั้ง 3 ตัวจะพบว่ามีข้อมูลการกระจายตัวที่ต่างกันอย่างมาก และตัวที่มีค่า mean, std สูงที่สุดก็คือ Fear and Greed Index

สมมติฐานเบื้องต้นของผมคือ Fear and Greed Index น่าจะเหมาะนำมาทำสัญญาณเทรดมากที่สุด เพราะมีความผันผวนที่สูงจึงมีความน่าจะเป็นที่จะสามารถสร้างสัญญาณได้ถี่กว่า (จากการหยิบมาใช้ตรง ๆ ไม่ทำการ Normalize) เพราะเราคงไม่อยากสัญญาณการซื้อขายที่จะเกิดทุก ๆ 10 ปีเพื่อทำการเข้าซื้อ 1 ครั้งสักเท่าไหร่ แต่การตั้งสมมติฐานดังกล่าว ก็นำมาซึ่งการทดสอบนี้นั่นเอง

โดยผมจะทดสอบโดยนำราคาดัชนี S&P 500 มาทำการซื้อขายตามสัญญาณที่ได้จาก Sentiment Indicators แต่ละตัว และจากช่วงเวลา January 2011 ถึง September 2020 เมื่อนับครั้งที่เกิดวิกฤต หลัก ๆ จะประกอบไปด้วยวิกฤตน้ำมันปี 2015, วิกฤต Brexit 2018 และ วิกฤต Covid-19 ช่วงปลายปี 2020 ที่ผ่านมา และบนสมมติฐานที่ว่าเราต้องการนำมาใช้เพื่อจับอารมณ์ตลาดและไหวตัวทันหรือเข้าทำกำไรได้ก่อนจึงควรมีสัญญาณมากกว่า 3 ครั้งแต่ก็ไม่ควรถี่เกินไปจนขนาดปีละครั้ง เพราะบางช่วงที่ตลาดวิ่งทำนิว”ฮอย่างต่อเนื่องเราก็ควรเจอสัญญาณเข้าไปสวนตั้งแต่กลางทางเช่นกัน (หรือถ้ามีสัญญาณเกิดขึ้น ก็อาจไม่น่าเชื่อถือนั่นเอง)

สมมติฐานการทดสอบ:

  • มีสัญญาณมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้งตลอดระยะเวลา 10 ปี
  • เริ่มต้นด้วยเงิน $ 100,000
  • ระยะเวลา Jan 2011 — Sep 2020 (เหลือระยะเวลาถึงช่วงปัจจุบันเพื่อทดสอบเป็น Test dataset เนื่องจากมี Covid-19 รอบ 2 ให้ทดสอบด้วย)
  • หยิบผลลัพธ์ที่มีสัญญาณเทรด 5 ครั้ง และได้กำไรสูงที่สุดมาแสดงผล
  • ทดสอบด้วยโปรแกรม Backtrader

วิธีอ่านค่าจากผลลัพธ์

  • ภาพสามเหลี่ยมสีเขียว คือจุดที่ทำการเข้าซื้อ
  • ภาพสามเหลี่ยมสีแดง คือจุดที่ทำการขาย
  • วงกลมสีน้ำเงินด้านบนสุดคือการเข้าซื้อแล้วได้ผลกำไร (หากขาดทุนจะเป็นวงสีแดง)

ผลลัพธ์จากสัญญาณแรก: Put/Call Ratio

  • เงินต้นจาก 100,000 > 109477.87
  • สัญญาณเทรด 5 ครั้ง
ผลตอบแทนและจุดเข้าซื้อขายจาก Put/Call Ratio

ผลลัพธ์จากสัญญาณแรก: VIX Index

  • เงินต้นจาก 100,000 > 218602.88
  • สัญญาณเทรด 8 ครั้ง
ผลตอบแทนและจุดเข้าซื้อขายจาก VIX Index
VIX Indicator

ผลลัพธ์จากสัญญาณแรก: Fear and Greed Index

  • เงินต้นจาก 100,000 > 223419.35
  • สัญญาณเทรด 6 ครั้ง
ผลตอบแทนและจุดเข้าซื้อขายจาก Fear and Greed Index
Fear and Greed Index

จากผลลัพธ์พบว่าการทดสอบสัญญาณตามเงื่อนไขคร่าว ๆ เบื้องต้น Indicator ที่ได้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ หรือให้ผลตอบแทนตลอดระยะเวลาที่ทดสอบได้เกิน 100% คือ VIX Index และ Fear and Greed Index ซึ่งในการทดสอบขั้นต่อไปจะถูกนำไปเข้าร่วมเป็น Features ประกอบการเรียนรู้ของโมเดล ทดสอบค่าความสัมพันธ์, Feature Importance และทดสอบกับ Test dataset ต่อไป

reference:

--

--